หัวข้อ | ขอบเขต/เนื้อหาสาระ | สรุปขั้นตอนการดำเนินการ/
แนวทางปฏิบัติ | หลักฐานอ้างอิง/กฎหมาย
ระเบียบ หนังสือสั่งการที่เกี่ยวข้อง |
1.วินัย | 1.ความหมาย
2.ประเภท | 1.การควบคุมความประพฤติให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผน
2.ลักษณะเชิงพฤติกรรมที่แสดงออกมาว่าสามารถที่จะควบคุมตนเองให้อยู่ในกรอบของวินัย
1.วินัยอย่างไม่ร้ายแรง(ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน)
2.วินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก) | 1.คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2545
1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 21 |
2.การดำเนินการทางวินัย | 1.ความหมาย
2.ประเภท | 1.การดำเนินการทั้งหลายที่กระทำเป็นพิธีการตามกฎหมายเมื่อมีกรณีถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย
1.การตั้งเรื่องกล่าวหา
2.การสืบสวนหรือสอบสวน
3.การพิจารณาความผิดและโทษ
4.การสั่งลงโทษหรืองดโทษ
5.การดำเนินการต่างๆระหว่างการสอบสวนและพิจารณาความผิด เช่น การสั่งพักราชการ การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน | 1.คู่มือการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2545
หน้า 25-115 |
3.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย | มีเนื้อหาสาระทั้งสิ้น 72 ข้อ | 1.ข้อกำหนดด้านสาระบัญญัติ (ข้อ 1-21) กำหนดให้พนักงานส่วนท้องถิ่นต้องประพฤติปฏิบัติตนอย่างไร และฐานความผิดทางวินัยมีอะไรบ้าง
2.ข้อกำหนดด้านวิธีสบัญญัติ (ข้อ 22-72) เป็นวิธีการดำเนินการทางวินัยทั้งกระบวนการ ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 1-72 |
4.การอ้างกฎหมาย | กฎหมายเกี่ยวกับวินัย มี
1.มาตรฐานกลางการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัยและการดำเนินการทางวินัย
3.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธณณ์และการร้องทุกข์ ของ ก.จังหวัด | -เมื่อ จะอ้างกฎหมายในการดำเนินการทางวินัยพนักงานส่วนท้องถิ่น(อบจ./เทศบาล/เมือง พัทยา/อบต.) ต้องอ้างหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของ ก.จังหวัด เท่านั้น
-จะอ้างมาตรฐานกลางหรือมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้ | 1.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสอบสวน การลงโทษทางวินัย การให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ของแต่ละ ก.จังหวัด |
5.การชี้มูลและการตั้งเรื่อง เพื่อดำเนินการทางวินัย | 1.เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการทางวินัย
2.นายกฯ ไม่ต้องสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อหามูลความผิดอีก
3.การดำเนินการทางวินัย อาจเกิดจาก
(1)มีผู้กล่าวหา/มีผู้ร้องเรียน โดยแจ้งชื่อที่อยู่ของตนเองที่แน่นอน และระบุกรณีที่กล่าวหา ซึ่งปรากฎตัวผู้กล่าวหา
(2)ผู้บังคับบัญชา/เพื่อนร่วมงาน/ผู้ใต้บังคับบัญชา/หรือบุคคลอื่น ฯลฯ ตรวจพบความผิด ซึ่งเป็นกรณีสงสัยโดยยังไม่มีพยานหลักฐาน
(3)หน่วยงานของรัฐชี้มูลให้ดำเนินการทางวินัย เช่น กระทวง ทบวง กรม สตง.หรือหน่วยงานตรวจสอบ ฯลฯ | 1.ถ้ากรณียังไม่ชัดเจนให้สอบข้อเท็จจริงเสียก่อน
2.ถ้าเป็นกรณีความผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง นายกฯ อาจสอบสวนโดย
(1)ดำเนินการเอง
(2)มอบหมายผู้อื่น
(3)ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงเพื่อลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หรือ
(4)ตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
(1)-(4)ต้องมีองค์ประกอบ ดังนี้
ก.ต้องแจ้งและอธิบายข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
ข.ต้องสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวทราบ
ค.ต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา
3.ถ้า เป็นกรณีความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้นายกฯ แต่งตั้งคณะกรรมการ (ตามแบบ สว.1) ขึ้นทำการสอบสวน แล้วดำเนินการตามแบบ สว.2 ถึง สว.6 (กรณี สตง.ชี้มูล ให้ตรวจสอบก่อนว่าแจ้งให้ทำอะไร หากสอบข้อเท็จจริงต้องสอบข้อเท็จจริงก่อน แต่ถ้าให้ดำเนินการทางแพ่ง อาญา วินัย อย่าตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงซ้ำอีก) | 1.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.,ก.ท. และ ก.จ.ที่ มท 0809.2/ว195 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548 และหนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ นค 1011/ว19 ลงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547 เรื่องวิธีการก่อนดำเนินการทางวินัยและการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 20
3.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และก.อบต.ที่ มท 0809.1/ว143 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 |
| (4) ป.ป.ช.ชี้มูล | 4.ถ้าเป็นกรณี ป.ป.ช.ชี้มูล ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการใดๆ ขึ้นมาทำการสอบสวนอีก ให้ใช้สำนวนของ ป.ป.ช.พิจารณาลงโทได้เลย | 1.พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 92 |
| (5) ป.ป.ช.ส่งเรื่องร้องเรียน โดยยังมิได้แต่งตั้งอนุกรรมการไต่สวน และส่งเรื่องมาให้ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ | 5.ให้นายกฯดำเนินการสอบสวนตามอำนาจหน้าที่ แล้วรายงานให้ ป.ป.ช.ทราบ | 1.ประกาศ คปค.ฉบับที่ 31 ข้อ 6
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 22 วรรคสาม และข้อ 31 แล้วแต่กรณี |
6.การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย กรณี สตง.หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ชี้มูล | ให้ตรวจสอบการชี้มูลว่าเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรงหรือวินัยอย่างร้ายแรง | 1.ถ้า เป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง(ไม่กระทบต่อการ เลื่อนขั้นเงินเดือน/เลื่อนระดับ ออกคำสั่งคล้ายกับการสอบสวนข้อเท็จจริง เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดว่าเป็นวินัยอย่างร้ายแรง)
2.ถ้าเป็นวินัยอย่างร้ายแรงให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง (ตามแบบ สว.1) | หาก เป็นหนังสือ สตง.สังเกตได้จากท้ายหนังสือ เช่น "ให้ดำเนินการทางวินัย ตามควรแก่กรณี" และให้รายงานทุก 60 วัน มักเป็นวินัยอย่างไม่ร้ายแรง แต่ถ้าเป็นวินัยร้ายแรง มักจะระบุชัด เช่น น่าเชื่อว่าทุจริตต่อหน้าที่ หรือผิดวินัยอย่างร้ายแรง และให้รายงานทุก 90 วัน เป็นต้น |
7.การพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย กรณี ป.ป.ช.ชี้มูล | ให้ให้สำนวนของ ป.ป.ช.พิจารณาโทษ ได้เลย | 1.ไม่ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนใดๆ ขึ้นอีก
2.ให้ใช้สำนวน ป.ป.ช.พิจารณาโทษเลย
3.รายงาน ก.จังหวัดตามหลักเกณฑ์ฯ | 1.พ.ร.บ.ป.ป.ช.มาตรา 92 |
8.การสอบสวนตามที่นายกฯ เห็นสมควร (วินัยอย่างไม่ร้ายแรง) | อำนาจการสั่งสอบสวนต้องเริ่มต้นจากนายกฯ | 1.กรณีการสอบสวนมาแล้วโดยหน่วยงานอื่น หากนายกฯ จะลงโทษทางวินัยโดยไม่สอบสวนอีก ไม่ได้ (ยกเว้น ป.ป.ช.ชี้มูล)
2.นายกฯ อาจสอบสวนเองหรือมอบให้บุคคลอื่นสอบสวน หรือแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงเพื่อลงโทษทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง หรือสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรงได้ | 1.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.,ก.ท.และ ก.จ.ที่ มท 0809.2/ว195 ลงวันที่ 8 กันยายน 2548
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัยฯ ข้อ 20
3.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.1/ว143 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2546 |
9.การยืมตัวกรรมการสอบสวนจากสังกัดอื่น | 1.เมื่อมีความจำเป็นต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย(ร้ายแรง/ไม่ร้ายแรง)
2.ไม่อาจแต่งตั้งพนักงานส่วนท้องถิ่นใน อปท.แห่งนั้นได้ | 1.ประสานภายในไปยัง อปท.อื่น หรือ อปท.ประเภทอื่น หรืออำเภอหรือจังหวัด ซึ่งเป็น "ต้นสังกัด"ของผู้ที่จะขอยืมตัวมาเป็นกรรมการสอบสวน
2.เมื่อมีการตอบรับจากผู้จะทำหน้าที่และผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นแล้ว ให้ทำเป็นหนังสือขอยืมตัวตามนั้น
3.หลังจากได้รับหนังสือแจ้ง "อนุญาต" จากต้นสังกัดของผู้นั้นแล้ว ให้ดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนได้
4.คำว่า"ต้นสังกัด"หมายถึง
(1)ผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีขอตัวข้าราชการพลเรือน ซึ่งอยู่ในกำกับดูแล
(2)นายอำเภอ กรณีขอตัวข้าราชการพลเรือน ซึ่งอยู่ในกำกับดูแล
(3)นายกฯ กรณีขอตัวข้าราชการ/พนักงานส่วนท้องถิ่นในสังกัด
5.ต้องได้รับหนังสือแจ้ง "อนุญาต"เสียก่อนจึงจะดำเนินการออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวนได้(ให้หลีกเลี่ยงออกคำสั่งก่อนรับอนุญาต) | 1.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.,ก.ท.และ ก.จ.ที่ มท 0809.2/ว205 ลงวันที่ 20 กันยายน 2548 |
10.คุณสมบัติของกรรมการสอบสวนทางวินัย | หากคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ไม่มีคุณสมบัติ แม้แต่คนเดียว จะทำให้การสอบสวนทั้งหมดเสียไป ไม่อาจนำมาพิจารณาลงโทษทางวินัยได้ | 1.เป็นนิติกร หรือ
2.ได้รับปริญญาทางกฎหมาย หรือ
3.ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรการดำเนินการทางวินัย(เครือข่ายคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยฯ) หรือ
4.มีประสบการณ์ด้านการดำเนินการทางวินัย
5.หนึ่งในกรรมการสอบสวน อาจมีคุณสมบัติข้างต้นเพียงคนเดียว ก็ทำการสอบสวนได้ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัยฯ ข้อ 31 และ 61 |
11.การแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อนายกฯเป็นคู่กรณี หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดร่วมกับพนักงานส่วนท้องถิ่น | นายกฯไม่อาจเลือกกรรมการสอบสวนได้เอง โดยลำพัง | ให้ ก.จังหวัด ดำเนินการ ดังนี้
1.ตรวจสอบ
2.หากพบว่าเป็นความจริง
3.พิจารณาคัดเลือกผู้จะเป็นกรรมการสอบสวน
4.แจ้งต้นสังกัดของผู้ได้รับคัดเลือกทราบ
5.แจ้งรายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเป็นกรรมการให้นายกฯ ออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นกรรมการสอบสวน
6.พิจารณาสำนวนสอบสวนแทนนายกฯ หลังจากคณะกรรมการสอบสวนแล้วเสร็จ และเสนอมา
7.แจ้งมติ ก.จังหวัด ไปให้นายกฯ สั่งหรือปฏิบัตินามมตินั้น | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 31 วรรคห้า,วรรคหก |
12.การยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน | คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เมื่อออกแล้วยกเลิกมิได้ | 1.เว้นแต่ออกคำสั่งผิดข้อเท็จจริงในสาระสำคัญ
2.หากมิใช่สาระสำคัญ ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเท่านั้น | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 31 วรรคเจ็ด ข้อ 38 (หรือข้อ 40 จังหวัด) |
13.คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (แบบ สว.1) | 1.ข้อความที่ต้องระบุ
2.ขอความที่ไม่ต้องระบุ | 1.ชื่อและตำแหน่งของผู้ถูกกล่าวหา
2.เรื่องที่กล่าวหา(ระบุเฉพาะพฤติการณ์)
3.ชื่อและตำแหน่งของกรรมการสอบสวน
1.ห้ามระบุฐานความผิด เพราะยังไม่ได้สอบสวน
2.ฐานความผิดจะเริ่มระบุตั้งแต่ สว.3 เป็นต้นไป
3.การระบุฐานความผิดในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (สว.1) ตั้งแต่ต้น จะทำให้ไม่สามารถสอบสวนให้หมดประเด็น หรือสิ้นกระแสความได้
4.เมื่อใช้กับวินัยไม่ร้ายแรง ตัดคำว่า "ร้ายแรง"ออก | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 32 |
14.การแจ้งคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (แบบ สว.1) | นายกฯ ต้องแจ้งคำสั่งฯ นั้น โดยเร็ว | 1.แจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ
2.แจ้งให้ประธานกรรมการสอบสวนทราบ เพราะเมื่อประธานฯ รับทราบ เงื่อนเวลาการสอบสวนจะเริ่มนับทันที | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 33 และ 40 |
15.การคัดค้านกรรมการสอบสวน | มีเหตุคัดค้านกรรมการสอบสวน (5 เหตุ) | 1.ให้ผู้ถูกกล่าวหา คัดค้านกรรมการสอบสวนผู้นั้น ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
2.ให้นายกฯ ที่ออกคำสั่งฯพิจารณาสั่งการภายใน 15 วัน นับแต่วันได้รับคำคัดค้าน
3.หาก นายกฯไม่สั่งการอย่างใดอย่างหนึ่งภายใน 15 วัน ถือว่าผู้ถูกคัดค้านพ้นจากการเป็นกรรมการสอบสวนทันที (ห้ามเข้าร่วมทำการสอบสวน เพราะไม่มีฐานะเป็นกรรมการสอบสวนแล้ว)
(1)ให้เลขานุการ รายงานนายกฯ
(2)ให้เปลี่ยนแปลงตัวกรรมการที่พ้นจากการเป็นกรรมการนั้น
4.กรณีที่กรรมการเห็นว่าตนมีเหตุจะถูกคัดค้าน ก็ให้ดำเนินการเช่นเดียวกัน | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 36 และ 38
1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 37 |
16.การนับเวลาสอบสวน | 1.เวลาสอบสวนปกติ 120 วัน
2.ขยายได้ไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละไม่เกิน 30 วัน รวม 180 วัน | 1.ระยะเวลาเริ่มนับเมื่อประธานกรรมการสอบสวนรับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน
2.เมื่อครบ 120 วัน สอบสวนไม่แล้วเสร็จให้ประธานกรรมการสอบสวน ขอขยายเวลาต่อนายกฯ ที่ออกคำสั่งแต่งตั้งฯ
3.เมื่อครบ 180 วัน สอบสวนไม่แล้วเสร็จให้ประธานกรรมการสอบสวนขอขยายเวลาไปยัง ก.จังหวัด เพื่อกำหนดเงื่อนเวลาเร่งรัด | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 40
2.การสอบสวนที่เกิน 180 วัน ไม่ทำการสอบสวนทั้งหมดเสียไป แต่หากคณะกรรมการสอบสวนประวิงเวลาอาจถูกร้องเรียนกล่าวหาเสียเอง |
17.การดำเนินการทางวินัยแก่ผู้ออกจากราชการไปแล้ว | ถูกกล่าวหาก่อนออกจากราชการ (เว้นแต่ออกเพราะตาย) นายกฯ มีอำนาจดำเนินการทางวินัย เสมือนว่ายังมิได้ออกจากราชการ | 1.เป็นการกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเป็นหนังสือต่อ
(1)ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้น
(2)ผู้มีหน้าที่สืบสวนสอบสวน
(3)ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบตามกฎหมาย หรือ
(1)ผู้บังคับบัญชาของผู้นั้นกล่าวหาเองเป็นหนังสือ
(2)ถูกฟ้องคดีอาญา
(3)ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา
2.ถ้ากล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง นายกฯไม่มีอำนาจดำเนินการทางวินัยได้อีก | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 24 |
18.การกระทำที่ปรากฎชัดแจ้ง | ดำเนินการทางวินัย โดย
1.ไม่สอบสวน หรือ
2.งดการสอบสวน ก็ได้ | 1.กระทำผิดวินัยอย่างไม่ร้ายแรง
(1)ศาล มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำผิด และนายกฯ เห็นว่าข้อเท็จจริงตามคำพิพากษา ประจักษ์ชัดแล้ว (ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำพิพากษาด้วย)
(2)รับสารภาพเป็นหนังสือต่อนายกฯ หรือรับสารภาพต่อ
1.ผู้มีหน้าที่สืบสวน
2.คณะกรรมการสอบสวนและได้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ
2.กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(1)ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก (จริงๆ) (ต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบคำพิพากษาด้วย)
(2)ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเกิน 15 วัน และนายกฯได้สืบสวนแล้ว เห็นว่าไม่มีเหตุผลอันสมควร
(3)รับสารภาพเป็นหนังสือต่อนายกฯ หรือรับสารภาพต่อ
1.ผู้มีหน้าที่สืบสวน
2.คณะกรรมการสอบสวน
และได้บันทึกถ้อยคำรับสารภาพเป็นหนังสือ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 27
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 28 |
19.การสอบสวนหรือรวบรวมพยานหลักฐานต่างท้องที่(อาจไกลโดยระยะทาง ไม่สามารถเดินทางไปสอบสวนเอง ฯลฯ) |
| 1.ประธานกรรมการสอบสวนรายงานต่อนายกฯ เพื่อขอให้นายกฯ/หัวหน้าส่วนราชการในท้องที่นั้นสอบสวนหรือรวบรวมแทน
2.ให้นายกฯขอให้นายกฯ/หัวหน้าส่วนราชการในท้องที่นั้น แต่งตั้งข้าราชการ/พนักงานในสังกัดอย่างน้อย 2 คน ร่วมเป็น คณะทำการสอบสวน | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 51 |
20.กรรมการสอบสวนเห็นนอกเหนือจากเรื่องที่ระบุในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (ในขณะสอบสวน) | กรรมการสอบสวนต้องกำหนดประเด็นหรือข้อสำคัญที่จะต้องสอบสวน
1.กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงในเรื่องอื่น
2.หย่อนความสามารถ
3.บกพร่องในหน้าที่
4.ประพฤติตนไม่เหมาะสม | 1.ให้ประธานกรรมการสอบสวน รายงานไปยั่งนายกฯ โดยเร็ว
2.ถ้านายกฯ เห็นด้วย ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน (แบบ สว.1)
3.กรรมการสอบสวนจะเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่ก็ได้ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 52 |
21.การสอบสวนพาดพิงถึงพนักงานส่วนท้องถิ่นผู้อื่น | พนักงานส่วนท้องถิ่นผู้อื่นนั้น มิใช่เป็นผู้ถูกกล่าวหา | 1.ให้กรรมการสอบสวนพิจารณาว่าผู้นั้นมีส่วนกระทำผิดในเรื่องนั้นหรือไม่
2.หากเห็นว่ามี ให้ประธานกรรมการสอบสวน รายงานไปยังนายกฯ โดยเร็ว
3.ถ้านายกฯ เห็นด้วย ให้สั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นทำการสอบสวน (แบบ สว.1)
4.กรรมการสอบสวนจะเป็นชุดเดิมหรือชุดใหม่ก็ได้ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 53 |
22.การโอน (ย้าย)ระหว่างการสอบสวน | คณะกรรมการสอบสวนต้องสอบต่อไปจนแล้วเสร็จ | ให้นายกฯ คนเดิม และนายกฯคนใหม่ ตรวจความถูกต้อง แล้วให้นายกฯคนใหม่ ใช้สำนวนนั้นพิจารณราลงโทษจากสำนวนเดิมได้เลย | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 56 |
23.การเสนอสำนวนการสอบสวน (แบบ สว.6) | 1.กรรมการต้องมีความเห็น
2.เสนอต่อนายกฯโดยตรง | ไม่ต้องเสนอผ่านปลัด อปท.เนื่องจากเป็นเรื่องเฉพาะที่กฎหมายกำหนดไว้ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 58
2.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท 0809.6/ว139 ลงวันที่ 5 กันยายน 2549 |
24.ผู้ถูกกล่าวหาตายระหว่างการสอบสวน | ยุติการสอบปากคำ | ให้คณะกรรมการสอบสวน
1.รวบรวมพยานหลักฐานเท่าที่มี
2.วินิจฉัยว่าผู้ตายผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่
3.ถ้าผิด จะลงโทษเพียงใด
4.ปลดออกได้รับบำเหน็จ/ไล่ออกไม่ได้รับ
ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการขอรับบำเหน็จ บำนาญ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 24
2.หลักเกณฑ์การจ่ายบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น |
25.กรณีพนักงานส่วนท้องถิ่นเกี่ยวข้องกับยาเสพติด (ผลิต/เสพ/ค้า ฯลฯ) | ให้นายกฯออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน (ฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง/ขาดคุณสมบัติเบื้องต้น) | 1.เสนอขอความเห็นชอบจาก ก.จังหวัด เพื่อสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน
2.จนกว่าคดีจะถึงที่สุด | 1.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.,ก.ท.และ ก.จ.ที่ มท 0809.1/ว733 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2546 |
26.กรณีต้องหาคดีอาญา/ถูกฟ้องคดีอาญา | ต้องดำเนินการทางวินัยไปพร้อมกันด้วย | 1.เมื่อลงนามรับทราบข้อกล่าวหาของพนักงานสอบสวน (กรณีต้องหาคดีอาญา)
2.เมื่อศาลประทับรับฟ้อง (กรณีถูกฟ้องคดี)
3.นายกฯ ต้องแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตามควรแก่กรณีทันที | 1.หนังสือสำนักงาน ก.พ.ที่ สร 0905/ว4 ลงวันที่ 18 มีนาคม 2509
2.หนังสือกระทรวงมหาดไทย ลับ ที่ 13333/2498 ลงวันที่ 8 กรกฎาคม 2498
3.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.ที่ มท 0809.2/ว740 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 |
27.การเลื่อนขั้นเงินเดือนระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย รวมถึงการเลื่อนระดับ | 1.กรณีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างไม่ร้ายแรง
2.กรณีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนอย่างร้ายแรง | 1.เลื่อนขั้นเงินเดือนได้ตามปกติ
2.เลื่อนขั้นเงินเดือนไม่ได้ และเลื่อนระดับไม่ได้
(1)ถึงรอบการเลื่อนขั้นเงินเดือน ให้รอเลื่อนขั้นโดยกันเงินไว้
(2)สามารถกันเงินไว้หลายครั้ง จนกว่าการสอบสวนจะแล้วเสร็จ | 1.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.1/ว71 ลงวันที่ 22 มกราคม 2546 |
| 3.กรณีมีคำสั่งลงโทษทางวินัย | 3.การเลื่อนขั้นเงินเดือนให้ดำเนินการ ดังนี้
(1)ถูกลงโทษไม่หนักกว่าภาคทัณฑ์ เลื่อนได้
(2)ถูกลงโทษตั้งแต่ตัดเงินเดือนขึ้นไป เลื่อนไม่ได้
(3)กรณีรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้และได้รับโทษตาม(1) ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอไว้ทุกครั้ง
(4)กรณี รอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ และได้รับโทษตัดเงินเดือนและลดขั้นเงินเดือน ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอไว้ในครั้งที่จะถูกลงโทษเพียงครั้งเดียว
(5)กรณีรอการเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ และได้รับโทษปลดออก/ไล่ออกจากราชการ ให้งดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอไว้ทุกครั้ง
(6)กรณีงดเลื่อนขั้นเงินเดือนที่รอไว้มาแล้ว ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนในครั้งต่อไปตามปกติ เพื่อไม่ให้ลงโทษซ้ำในความผิดเดียวกัน |
|
28.มติ ครม.มติ ก.พ.ที่เกี่ยวกับวินัย | นำมาใช้กับพนักงานส่วนท้องถิ่นด้วย | ทั้งที่มีอยู่แล้วและจะมีขึ้นในอนาคต เฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับวินัยเท่านั้น | 1.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0313.3/ว889 ลงวันที่ 30 สิงหาคม 2545 |
29.ค่าสมนาคุณคณะกรรมการสอบสวน | สามารถเบิกจ่ายได้เฉพาะการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงเท่านั้น | 1.เบิกจ่ายจาก อปท.เจ้าของเรื่องผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง
2.อัตราการเบิกจ่าย
(1)สอบสวนตามปกติครั้งละ 250 บาท
(2)สอบสวนเพื่อมีมติสรุปพยานหลักฐาน และมีมติว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหรือไม่ ครั้งละ 300 บาท
(3)เบิกได้เพียงการประชุม 60 วัน นับแต่วันประชุมครั้งแรก | 1.หนังสือสำนักงาน ก.อบต.,ก.ท.และ ก.จ.ที่ มท 0809.1/ว381 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2546 |
30.การเสนอรายงานการสอบสวน (แบบ สว.6) | เสนอตามแบบ สว.6โดยต้องมีความเห็นด้วย | เสนอต่อนายกฯ ผู้ออกคำสั่งแต่งตั้งเพื่อพิจารณา เว้นแต่กรณีตามข้อ 8 เมื่อเสนอแล้วถือว่า การสอบสวนแล้วเสร็จ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 58 |
31.กรณีมีความเห็นแย้ง | กรรมการสอบสวนผู้ใดมีความเห็นแย้ง | 1.ให้ทำความเห็นแย้งแนบไว้กับรายงานการสอบสวน
2.ให้ถือความเห็นแย้งเป็นส่วนหนึ่งของรายงานการสอบสวน | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 58 |
32.รายงานการสอบสวน (แบบ สว.6) | ต้องมีสาระสำคัญ (อย่างน้อย) ดังนี้ | 1.สรุปข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน
2.วินิจฉัยเปรียบเทียบพยานหลักฐาน
3.ความเห็นของกรรมการสอบสวน | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 58 |
33.การออกคำสั่งลงโทษ
(แบบ ลท.1-4) | 1.กรณีแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างไม่ร้ายแรง | 1.คณะ กรรมการสอบสวนเห็นว่าเป็นวินัยไม่ร้ายแรง (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน) นายกฯเห็นว่าเป็นวินัยไม่ร้ายแรงด้วย นายกฯสามารถลงโทษวินัยไม่ร้ายแรงได้เลยทุกระดับ
2.คณะกรรมการสอบสวน หรือนายกฯ เห็นว่าเป็นวินัยอย่างร้ายแรง ต้องกลับไปตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรงใหม่ให้ถูกต้อง | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 67 และ 68 |
| 2.กรณีแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยอย่างร้ายแรง | 1.คณะกรรมการสอบสวนเห็นว่าเป็นวินัยไม่ร้ายแรง (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน)
นายกฯ เห็นว่าเป็นวินัยไม่ร้ายแรงด้วย นายกฯสามารถลงโทษวินัยไม่ร้ายแรงได้เลยทุกระดับ
2.คณะ กรรมการสอบสวนหรือนายกฯ เห็นว่าเป็นวินัยอย่างร้ายแรง (ปลดออก/ไล่ออก) ต้องรายงานไปให้ ก.จังหวัด พิจารณาก่อน เมื่อ ก.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้นายกฯ สั่งหรือปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น | 2.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.2/ว842 ลงวันที่ 31 มีนาคม 2548 |
34.การปฏิบัติตามคำสั่งลงโทษ | เมื่อนายกฯออกคำสั่งลงโทษ | 1.ให้ผู้เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำสั่งลงโทษทันที
2.ไม่ต้องรอการพิจารณารายงานของ ก.จังหวัด
3.เพราะเป็นคนละขั้นตอนกัน
4.หาก เป็นขั้นตอนการพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัยของ ก.จังหวัด เมื่อ ก.จังหวัดมีมติเปลี่ยนแปลงเพิ่ม /ลดโทษ ค่อยมาดำเนินการตามแบบ ลท5-7 | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 67,68,69 และ 70 |
35.การรายงานการดำเนินการทางวินัย | ให้นายกฯรายงานตรงไปยัง ก.จังหวัด | 1.เมื่อนายกฯดำเนินการแล้วให้รายงานตรงไปยัง ก.จังหวัดได้เลย
2.กรณีอำเภอ/จังหวัดชี้มูล เมื่อนายกฯดำเนินการแล้วให้รายงานตรงไปยัง ก.จังหวัดได้เลย แล้วรายงานผลให้อำเภอหรือจังหวัดทราบด้วย | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 70
2.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.2/ว1703ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2546 |
36.การพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัย | 1.ก.จังหวัด รับเรื่อง
2.ส่งอนุวินัยฯ ทำความเห็น | 1.ก.จังหวัดมีมติเป็นประการใด ให้นายกฯสั่งปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น
2.กรณีมีมติเพิ่มโทษ ให้นายกฯออกคำสั่งเพิ่มโทษ
3.กรณีมติลดโทษ ให้นายกฯออกคำสั่งลดโทษ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 70 |
37.การพิจารณารายงานการดำเนินการทางวินัย เมื่อมีการยื่นอุทธรณ์คำสั่งลงโทษด้วย | อนุอุทธรณ์ฯ เป็นผู้ทำความเห็น (อนุวินัยฯ ไม่ต้องทำความเห็น) | อนุวินัยฯ ต้องส่งเรื่องการรายงานการดำเนินการทางวินัยให้อนุอุทธรณ์ฯ เท่านั้นเป็นผู้ทำความเห็น | 1.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0313.3/345 ลงวันที่ 18 กันยายน 2545 |
38.การรายงานการดำเนินการทางวินัยไปยัง ก.กลาง | รายงานตามแบบ สป.1
(โดยสำนักงาน ก.จังหวัด) | เพื่อศึกษาวิจัยและแนะนำให้ดำเนินการให้ถูกต้องมีมาตรฐานเดียวกัน | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 70 |
39.การเลื่อนขั้นเงินเดือน กรณีมีการรอเลื่อนขั้นเงินเดือนไว้ | หากถูกลงโทษหนักกว่าภาคทัณฑ์ แต่ไม่ถึงกับปลด หรือออกไล่ออก | 1.ให้งดการเลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งหลังสุดที่รอไว้ครั้งก่อนหน้านั้น เลื่อนให้ทุกครั้ง
2.ให้เลื่อนขั้นเงินเดือนครั้งต่อไปได้ตามปกติ | 1.หนังสือสำนักงาน ก.จ.,ก.ท.และ ก.อบต.ที่ มท 0809.6/784 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2550 |
40.ดุลพินิจในการให้ความเห็น | ย่อมไม่ผูกพันผู้ใช้อำนาจว่า จะต้องเห็นตาม | ดุลพินิจ ในการให้ความเห็นแต่ละระดับ เช่น คณะกรรมการสอบสวน นายกฯ อนุวินัยฯ อนุอุทธรณ์ หรือ ก.จังหวัด ย่อมเป็นอิสระต่อกัน ขึ้นอยู่ที่เหตุผลในการใช้ดุลพินิจนั้น แต่ต้องเป็นไปโดยชอบ | ทฤษฎีการใช้ดุลพินิจ |
41.การสอบสวนเพิ่มเติม | 1.สอบสวนเพิ่มเติมในชั้นของนายกฯ
2.สอบสวนเพิ่มเติมในชั้นของ ก.จังหวัด | 1.ให้นายกฯกำหนดประเด็น
2.ให้ ก.จังหวัด กำหนดประเด็น
3.กรรมการสอบสวนชุดเดิม ทำการสอบสวน หากกรรมการไม่ครบองค์ให้แต่งตั้งเพิ่ม
4.กรรมการสอบสวนไม่ต้องทำความเห็น | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 60 และ 71 |
42.อำนาจในการออกคำสั่งลงโทษ | 1.เป็นอำนาจของนายกฯ
2.นายกฯ อาจมอบอำนาจให้ผู้บังคับบัญชาใน อปท.นั้น ได้ | 1.นายกฯ ลงโทษได้เองในระดับภาคทัณฑ์ ตัดเงินเดือน (ไม่เกิน 5%ไม่เกิน 3 เดือน) ลดขั้นเงินเดือน (ไม่เกิน 1 ขั้น)
2.อำนาจลงโทษของผู้บังคับบัญชาใน อปท.ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ฯ ของ ก.จังหวัด และนายกฯ ต้องมอบอำนาจด้วย
3.หากเป็นโทษปลดออก/ไล่ออก ต้องเสนอ ก.จังหวัด ให้เห็นชอบก่อน นายกฯ จึงออกคำสั่งได้ | 1.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 15
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 67
3.หลักเกณฑ์และเงื่อนไขฯ ของ ก.จังหวัด ข้อ 69 |
43.อำนาจการพิจารณาเพิ่มโทษของ ก.จังหวัด | ต้องไม่เกินอำนาจของนายกฯ | 1.เพิ่มโทษตัดเงินเดือนได้ไม่เกิน 5% ไม่เกิน 3 เดือน
2.ลดขั้นเงินเดือนได้ไม่เกิน 1 ขั้น | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 67 และ 70 |
44.อำนาจในการดำเนินการทางวินัย | 1.เป็นข้าราชการ
2.ผู้บังคับบัญชาปัจจุบัน | 1.ผู้ ถูกดำเนินการทางวินัยต้องมีสถานภาพเป็นข้าราชการ (ยกเว้นข้อ 24 ของมาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยฯ ซึ่งออกจากราชการไปแล้ว แต่ยังถูกดำเนินการทางวินัยได้)
2.นายกฯ สังกัดปัจจุบันเท่านั้นที่มีอำนาจดำเนินการ | 1.พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 15
2.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับวินัยและการรักษาวินัย และการดำเนินการทางวินัย ข้อ 24 |
45.การสั่งพักราชการ/การสั่งให้ออกจากราชการไว้ก่อน | 1.สั่งพักราชการหรือสั่งให้ออกจากราชการได้เมื่อมีเหตุ
2.สั่งพัก/สั่งให้ออกตลอดเวลาที่ทำการสอบสวนพิจารณา (เว้นแต่มีข้อยกเว้น) | 1.ถูกแต่งตั้งกรรมการสอบสวน (เฉพาะวินัยอย่างร้ายแรง)
2.ถูกฟ้องคดีอาญา
3.ต้องหาว่ากระทำความผิดอาญา
(2. และ 3. ในเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตต่อหน้าที่ราชการ หรือเกี่ยวกับความประพฤติหรือพฤติการณ์อันไม่น่าไว้วางใจ ซึ่งอัยการมิได้รับเป็นทนายแก้ต่างให้ และนายกฯ เห็นว่าหากคงอยู่ในหน้าที่อาจเกิดความเสีย ฯลฯ) | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการให้ออกจากราชการ ข้อ 12,13 และข้อ 17 |
46.การอุทธรณ์โทษทางวินัย | ผู้ถูกลงโทษทางวินัย (ภาคทัณฑ์/ตัดเงินเดือน/ลดขั้นเงินเดือน/ปลดออก/ไล่ออก) | 1.ยื่นอุทธรณ์ต่อ ก.จังหวัด
2.ภายใน 30 วันนับแต่วันรับทราบคำสั่ง
3.โดยทำเป็นหนังสือ
4.จะอุทธรณ์แทนผู้อื่นหรือมอบให้ผู้อื่นอุทธรณ์แทนมิได้ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ข้อ 1 และ 6 |
47.การร้องทุกข์ | 1.มิได้ถูกลงโทษทางวินัย
2.ถูกให้ออกจากราชการ
3.เห็นว่าผู้บังคับบัญชา
(1)ปฏิบัติต่อตนไม่ถูกต้อง
(2)ไม่ปฏิบัติต่อตนให้ถูกต้อง
(3)ปฏิบัติให้เกิดความคับข้องใจต่อตน | 1.ยื่นเรื่องร้องทุกข์ต่อ ก.จังหวัด
2.ภายใน 30 วัน นับแต่วันรับทราบเหตุ
3.โดยทำเป็นหนังสือ
4.จะร้องทุกข์แทนผู้อื่นหรือมอบให้ผู้อื่นร้องทุกข์แทนมิได้ | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ข้อ 21,22 และ 24 |
48.การร้องต่อ ก.กลาง | ผู้อุทธรณ์/ร้องทุกข์ เห็นว่ามติของ ก.จังหวัด ขัดแย้งกับมาตรฐานทั่วไป | 1.มีสิทธิร้องต่อ ก.กลาง
2.ให้ ก.กลางพิจารณาดำเนินการตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารงานบุคคล พ.ศ.2542 มาตรา 19 วรรคสอง | 1.มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับสิทธิการอุทธรณ์ การพิจารณาอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ข้อ 3 |